วันจันทร์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 6

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤก แจ่มถิ่น
วันที่ 19 กรกฏาคม พ.ศ. 2556
ครั้งที่ 6 เวลาเรียน 08.30-12.20 กลุ่ม 101 ห้อง 233
เวลาเข้าสอน 08.30 เวลาเข้าเรียน 08.45 เวลาเลิกเรียน 12.20


วันนี้ได้เรียนเกี่ยวกับ


1. การจัดประสบการณ์ทางภาษาที่เน้นทักษะทางภาษา (Skill Approch)
- ธรรมชาติของเด็กปฐมวัย

2.การสอนภาษาแบบธรรมชาติ (Whole Language)
- ทฤษฎีที่มีอิทธิพลต่อการสอนภาษาแบบธรรมชาติ (Dewey / Piaget / Vygotsky / Haliday)
- การสอนภาษาธรรมชาติ
- หลักการของการสอนภาษาแบบธรรมชาติ 
(1.การจัดสภาพแวดล้อม)
(2.การสื่อสารที่มีความหมาย)
(3.การเป็นแบบอย่าง)
(4.การตั้งความคาดหวัง)
(5.การคาดคะเน) 
(6.การใช้ข้อมูลย้อนกลับ)
(7.การยอมรับนับถือ)
(8.การสร้างความรู้สึกเชื่อมั่น)

3.บทบาทครู








บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 5

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤก แจ่มถิ่น
วันที่ 12 กรกฏาคม พ.ศ. 2556
ครั้งที่ 5 เวลาเรียน 08.30-12.20 กลุ่ม 101 ห้อง 233
เวลาเข้าสอน 08.30 เวลาเข้าเรียน 08.45 เวลาเลิกเรียน 12.20


 วันนี้กลุ่มของดิฉันได้ออกมานำเสนอหน้าชั้นเรียน 
กลุ่มของดิฉันนำเสนอ เรื่องวิธีการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย


วิธีการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย



ฟีนีย์ และคนอื่นๆ ( เยาวพา เดชะคุปต์. 2542:
72 – 74;  อ้างอิงจาก Feeney; other.1987: 205 – 210 ) 
กล่าวว่า วิธีการที่เด็กปฐมวัยจะเกิดการเรียนรู้ผ่าน
ประสบการณ์ที่หลากหลายซึ่งวิธีการเรียนรู้ของเด็กมี
วิธีการต่างๆ ดังต่อไปนี้ 


  1.การเรียนรู้จากการเล่น (Learning Through Play) การเล่นเป็น
วิธีการสำคัญที่เด็กจะทำความเข้าใจ และรวบรวมประสบการณ์ทั้งหมด
ที่ได้รับเข้าด้วยกัน การเล่นเป็นกิจกรรมที่น่าสนุกสนานที่เด็กเล่นเพื่อ
ความพอใจของตน ขณะที่เด็กเล่นเด็กจะได้รับการกระตุ้นให้เกิดสมาธิ
ในการเล่น เด็กจะแสวงหาการเรียนรู้โลกที่เขาอยู่ ขณะที่เด็กเล่นจะมีกิจกรรม
ที่หลากหลายที่เกิดตามมาโดยไม่รู้ตัว เช่น การเล่นสมมติ เด็กจะได้พัฒนา
ทางด้านร่างกาย สังคมและยังได้แสดงออกซึ่งความคิด การเรียนรู้ความคิด
รวบยอดและการสร้างสรรค์การเล่นจะเป็นการ
แสดงออกซึ่งความคิด 




2การเรียนรู้โดยการปฏิสัมพันธ์กับครู 
(Learning through Interaction with Teachers)
การเรียนรู้อีกลักษณะก็คือ การเรียนรู้จากกิจกรรมที่ครูจัดเตรียมขึ้น
ซึ่งสามารถจัดได้ 3 ลักษณะ คือ
2.1 การจัดประสบการณ์แบบหนึ่งต่อหนึ่ง
2.2 การจัดประสบการณ์แบบกลุ่มย่อย
2.3 การจัดกิจกรรมกลุ่มใหญ่



และอาจารย์ได้ให้ทำกิจกรรมเกี่ยวกับการเรียนการสอนในครั้งนี้ คือ วาดรูป ในสิ่งที่เรารักตั้งแต่เด็ก แล้วออกมาบรรยายหน้าชั้นเรียน ว่า ใครซื้อให้  และปัจจุบันอยู่ที่ไหน


 

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 4

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤก แจ่มถิ่น
วันที่ 5 กรกฏาคม พ.ศ. 2556
ครั้งที่ 4 เวลาเรียน 08.30-12.20 กลุ่ม 101 ห้อง 233
เวลาเข้าสอน 08.30 เวลาเข้าเรียน 08.45 เวลาเลิกเรียน 12.20



วันนี้ดิฉันขาดเรียน เนื่องจากป่วย มีอาการเป็นไข้ ท้องเสีย คลื่นไส้ เนื่องจากอาหารเป็นพิษ



บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 3

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤก แจ่มถิ่น
วันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2556 
ครั้งที่ 3 



วันนี้มีการหยุดการเรียนกาสอน เพราะ มีกิจกรรมรับน้องใหญ่ของทางมหาวิทยาลัย




 

วันเสาร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 2

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤก แจ่มถิ่น วันที่ 21 มิถุนายน 2556   ครั้งที่ 2 เวลาเรียน 08.30-12.20 กลุ่มเรียน 101 ห้อง 233
เวลาเข้าสอน 08.30 เวลาเข้าเรียน 08.45 เวลาเลิกเรียน 12.20 

ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจท์

เพีย เจท์ (Piaget) เชื่อว่าการเรียนรู้ภาษาเป็นผลจากความสามารถทางสติปัญญา เด็กเรียนรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์กับโลกรอบตัวของเขา เด็กจะเป็นผู้ปรับสิ่งแวดล้อมโดยการใช้ภาษาของตน ดังตัวอย่างต่อไปนี้


1. เด็กมีอิทธิพลต่อวิธีการที่แม่พูดกับเขา จากผลการวิจัยปรากฏว่า แม่จะพูดกับลูกแตกต่างไปจากพูดกับผู้อื่น เพื่อรักษาการมีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน

2. เด็กควบคุมสิ่งแวดล้อมทางภาษา เพื่อได้ข้อมูลที่ถูกต้อง
 

3. การใช้สิ่งของหรือบุคคลเป็นสิ่งสำคัญในการสร้างความเข้าใจพื้นฐานว่า ผู้ใหญ่เห็นหรือได้ยินเขาพูด เด็กอาจเคลื่อนไหวตัวหรือ จับ ขว้าง ปา บีบ ของเล่น เพื่อสร้างความเข้าใจเพื่อเป็นพื้นฐาน และความจำเป็นของความเจริญทางภาษา การเรียนรู้เกี่ยวกับตนเอง เกี่ยวกับผู้อื่น เกี่ยวกับสิ่งของ เกี่ยวกับเหตุและผล เกี่ยวกับสถานที่